ยุทธศาสตร์ขององค์การบริหารส่วนตำบลนายางกลัก


2.1 วิสัยทัศน์
วิสัยทัศน์ (VISION)
“ชุมชนพอเพียง ราษฏรเป็นสุข”


2.2 ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์การบริหารส่วนตำบลนายางกลัก แยกได้ 6 ยุทธศาสตร์ดังนี้
1. ยุทธศาสตร์ด้านโครงสร้างพื้นฐานและการบริการสาธารณะ

เป้าประสงค์
1.1 การพัฒนาเส้นทางการขนส่งสินสินค้าเกษตรได้รับการปรับปรุงเพิ่มขึ้น
1.2 การพัฒนาเส้นทางการคมนาคมขนส่งเพิ่มขึ้น
1.3 การขยายเขตไฟฟ้าแรงต่ำให้ครอบคลุมทุกครัวเรือน
1.4 การพัฒนาและปรับปรุงอาคารสถานที่สาธารณะประโยชน์ใช้สามรถใช้ประโยชน์ได้เพิ่มขึ้น
1.5 การพัฒนาด้านผังเมือง

ตัวชี้วัด/ค่าเป้าหมาย
1. ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของถนนเพื่อการเกษตรได้รับการปรับปรุง
2. ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของถนนเพื่อการคมนาคมขนส่งได้รับการพัฒนา
3. ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของครัวเรือนที่ได้รับการให้บริการด้านไฟฟ้า
4. ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของการปรับปรุงอาคารสถานที่สาธารณะประโยชน์ได้รับการปรับปรุง
5. ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของการพัฒนาด้านการผังเมือง

กลยุทธ์/แนวทางการพัฒนา
1.1 แนวทางการพัฒนาด้านการคมนาคมและการขนส่ง
1.2 แนวทางการพัฒนาด้านระบบสาธารณูปโภค
1.3 แนวทางการพัฒนาด้านก่อสร้าง ขยายเขตไฟฟ้า ไฟฟ้าสาธารณะฯ
1.4 แนวทางการพัฒนาด้านก่อสร้างอาคาร
1.5 แนวทางการพัฒนาด้านผังเมือง
2. ยุทธศาสตร์ด้านส่งเสริมคุณภาพชีวิต

เป้าประสงค์
2.1 ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
2.2 คนชรา ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาสได้รับการช่วยเหลือสงเคราะห์มากขึ้น
2.3 เด็ก เยาวชน ได้เข้าถึงการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาขึ้นพื้นฐานมากขึ้น
2.4 ประชาชนได้เข้าถึงการบริการด้านสาธารสุขขั้นพื้นฐานมากขึ้น


ตัวชี้วัด/ค่าเป้าหมาย
1. ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของรายได้เฉลี่ยของครัวเรือน
2. ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของการเข้ารับบริการด้านสวัสดิการสังคม
3. ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของเด็กและเยาวชนได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
4. ร้อยละที่ลดลงของการติดเชื้อโรคระบาดตามฤดูกาล

กลยุทธ์/แนวทางการพัฒนา
2.1 แนวทางการพัฒนาด้านส่งเสริมอาชีพ
2.2 แนวทางการพัฒนาด้านสวัสดิการสังคมและการสงเคราะห์ฯ
2.3 แนวทางการพัฒนาด้านกีฬาและนันทนาการ
2.4 แนวทางการพัฒนาด้านการศึกษา
2.5 แนวทางการพัฒนาด้านสาธารณะสุข
3. ยุทธศาสตร์ด้านการจัดระเบียบชุมชน/สังคมและการรักษาความสงบเรียบร้อย


เป้าประสงค์
3.1 ประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับระบอบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตย์ทรงเป็นประมุข
3.2 ประชาชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆของส่วนราชการ
3.3 ประชาชนมีความรู้และได้รับบริการด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

ตัวชี้วัด/ค่าเป้าหมาย
1. ร้อยละของประชาชนได้รับความรู้มากขึ้น
2. ร้อยละของประชาชนเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆของส่วนราชการมากขึ้น
3. ประชาชนมีความพึงพอใจในการแก้ไขปัญหาด้านสาธารณภัยมากขึ้น

กลยุทธ์/แนวทางการพัฒนา
3.1 แนวทางการพัฒนาด้านการส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค
3.2 แนวทางการพัฒนาด้านการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน
3.3 แนวทางการพัฒนาด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
4. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี

เป้าประสงค์ 4.1 บุคลกรมีความรู้ ความสามารถ และนำความรู้ที่มีมาพัฒนาให้เกิดประโยชน์สูงสุดในองค์กร
4.2 บุคลกรมีเครื่องมือ เครื่องใช้ เพื่อใช้ประกอบการปฏิบัติงานให้เกิดประโยชน์ต่อไป


ตัวชี้วัด/ค่าเป้าหมาย
1. ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของบุคลกรได้เข้ารับการพัฒนาความรู้เพิ่มมากขึ้น
2. ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของบุคลกรมีเครื่องมือ เครื่องใช้ อย่างเพียงพอ

กลยุทธ์/แนวทางการพัฒนา
4.1 แนวทางการพัฒนาด้านบุคลากร
4.2 แนวทางการพัฒนาด้านเครื่องมือ เครื่องใช้ และสถานที่
5. ยุทธศาสตร์ด้านการบริหารจัดการและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป้าประสงค์
1. ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีความสมดุลและยั่งยืน
2. การใช้พลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานอย่างยั่งยืน

ตัวชี้วัด/ค่าเป้าหมาย
1. สัดส่วนของพื้นที่ป่าสมบูรณ์เพิ่มขึ้น
2. สัดส่วนพื้นที่ป่าได้รับการอนุรักษ์และฟื้นฟูให้คงสภาพสมบูรณ์

กลยุทธ์และแนวทาง
1. แนวทางการพัฒนาด้านการคุ้มครอง ดูแล บำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
6. ยุทธศาสตร์ด้านศิลปะ วัฒนธรรม จารีตประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น

เป้าประสงค์
6.1 แนวทางการพัฒนาด้านการส่งเสริมการสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น
6.2 แนวทางการพัฒนาด้านการอนุรักษ์ขนบธรรมเนียม จารีตประเพณีท้องถิ่น

พันธกิจ(ZMISION)
1. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภคภายในตำบลให้มีคุณภาพ สะดวกและ
ปลอดภัย และเชื่อมโยงเครือข่ายการคมนาคมระหว่างตำบล อำเภอให้มีความสะดวกในการขนส่งสินค้าเกษตรและการคมนาคม
2. พัฒนาฐานการผลิตและบริการให้เข้มแข็งและมีคุณภาพบนฐานความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ และ
ภูมิปัญญา สร้างความมั่นคงด้านอาหารและพลังงาน ปรับโครงสร้างการผลิตและการบริโภคให้เป็นมิตร กับสิ่งแวดล้อม
พร้อมสร้างความเชื่อมโยงกับประเทศในภูมิภาคเพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม
3. ประชาชนได้รับความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน รวมถึงการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยที่สะดวก รวดเร็ว ทันต่อเหตุการณ์
4. สร้างสังคมเป็นธรรมและเป็นสังคมที่มีคุณภาพ ทุกคนมีความมั่นคงในชีวิตได้รับ ความคุ้มครองทางสังคมที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม
มีโอกาสเข้าถึงทรัพยากรและกระบวนการยุติธรรมอย่างเสมอภาคทุกภาคส่วนได้รับการเสริมพลังให้สามารถมีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนา
ภายใต้ระบบบริหารจัดการภาครัฐที่โปร่งใส
เป็นธรรมพัฒนาฐานการผลิตและบริการให้เข้มแข็งและมีเสถียรภาพบนฐานความรู้และความสร้างสรรค์ของคนไทย
5. สร้างความมั่นคงของฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สนับสนุนการมีส่วนร่วม ของชุมชน
รวมทั้งสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อรองรับผลกระทบจาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติ ทางธรรมชาติ
6. ส่งเสริมการอนุรักษ์ ประเพณีดั่งเดิม ให้ได้รับการสืบทอดและการถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น เพื่อให้คงอยู่สืบไปในกระแสโลกาภิวัฒน์

เป้าประสงค์
1. โครงสร้างพื้นฐานและการสาธารณูปโภคได้รับการพัฒนาและได้มาตรฐานเพื่อรองรับการขยายตัวของชุมชน
และเชื่อมโยงการคมนาคมสู่ตำบลข้างเคียง
2. ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพในครัวเรือนและกลุ่มอาชีพ เกษตรกรผลิตสินค้าที่มีคุณภาพเป็นที่ต้องการของตลาด
3. ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินและได้รับการช่วยเหลือในยามเกิดเหตุภัยพิบัติได้อย่างทันท่วงที
4. ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น วัดได้จากรายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือน การลดลงของอาชญากรรมในพื้นที่ ระดับการศึกษาที่สูงขึ้น
5. สภาพพื้นที่ป่าคงความอุดมสมบูรณ์และเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับตำบลมากขึ้น
6. ประเพณี วัฒนธรรมดั่งเดิมได้รับการอนุรักษ์ รักษา ให้ได้รับการสืบทอดและการถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น เพื่อให้คงอยู่สืบไป





Untitled Document


องค์การบริหารส่วนตำบลนายางกลัก

เลขที่ 7 หมู่ 1 ตำบลนายางกลัก อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ 36230
โทรศัพท์/โทรสาร : 044-056033
E-mail : 6360901@dla.go.th
Copyright © 2020 All Rights Reserved. Powered by Allweb Technology